ความเป็นมาของชาว“ลาวยวน” เป็นเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นภาพของผู้คน
การเคลื่อนย้าย และการผสมผสานกันของชาติพันธุ์ต่างๆในดินแดนสุวรรณภูมิได้อย่างเป็นรูปธรรม
เรื่องหนึ่ง
ชื่อ“ลาวยวน” สำหรับในประเทศไทยแล้ว เป็นชื่อที่ถูกกล่าวถึงน้อยมาก
เท่าที่ค้นพบหลักฐาน
มีจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯแผ่นหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจารึกขึ้นในสมัยรัชกาลที่
3 ที่กล่าวถึงชนชาติลาวยวนไว้ว่า“เป็นชาวหริภุญไชย นิยมสักบริเวณขาและพุงเหมือนคนพม่า ใส่ต่างหูทำจากทองเนื้อแปด โพกผ้าที่ศีรษะ สวมกำไลข้อมือทั้งสองข้าง และมีประเพณีการแอ่วสาว เป็นต้น”
จารึกระบุว่า
ผู้แต่งจารึกนี้ คือพระยาบำเรอบริรักษ์
แต่สำหรับใน สปป.ลาว ชาว”ลาวยวน”เป็น 1 ใน 49 ชนเผ่า(ethnic) ซึ่งได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ ตามมติสภาแห่งชาติ ที่ 213/สพช ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2008(พ.ศ.2551)
มตินี้ ว่าด้วยเรื่องการรับรองชื่อเรียกและจำนวนชนเผ่า รายละเอียดมี
2 มาตรา
มาตราแรกกำหนดว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีเพียงชาติเดียว
เรียกว่าชาติลาว และมาตราที่ 2 การกำหนดชื่อเรียก จำนวนชนเผ่า
เบื้องต้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มี 49 ชนเผ่า ซึ่งจัดตาม
4 หมวดภาษา
ชนเผ่า”ยวน”ถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 5 ของกลุ่มแรก หมวดภาษาลาว-ไต
มติสภาแห่งชาติ ที่ 213 กำหนดชื่อเรียก และจำนวนชนเผ่าใน สปป.ลาว |
“ลาวยวน” คือกลุ่มคนที่ย้ายจากเมืองเชียงแสนไปอยู่ในดินแดนล้านช้าง
ตั้งแต่เมื่อ 400 กว่าก่อน
คำว่า”ยวน” เป็นคำที่โยงให้เห็นถึงถิ่นกำเนิดดั้งเดิม
ตั้งแต่สมัยตำนานสิงหนวัติ คืออาณาจักรโยนกนาคพันธุ์(พุทธศตวรรษที่
12) ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางต่อเนื่องกับลุ่มแม่น้ำกก
ตอนที่ชาวเชียงแสนกลุ่มนี้
ย้ายไปอยู่ในดินแดนล้านช้างใหม่ๆ ชาวลาวล้านช้างเรียกคนกลุ่มนี้ว่าชาวลาวโยนก
และเปลี่ยนมาเรียก“ลาวยวน”ในภายหลัง
ทุกวันนี้ มีชาวยวนกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ของ สปป.ลาว
โดยเฉพาะในแขวงไชยะบูลี และหลวงน้ำทา
โดยเฉพาะเมืองหลวงน้ำทา กับเมืองเงิน แขวงไชยะบูลีนั้น
ตามประวัติที่ชาวยวนเมืองหลวงน้ำทาค้นคว้ามา พบว่าผู้ที่สร้างเมืองทั้งสอง คือชาวยวนจากเชียงแสนนั่นเอง
ทะเลสาบเชียงแสน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเมืองโยนกนาคพันธุ์ แต่พังทลายลงด้วยเหตุจากแผ่นดินไหว เมื่อพันกว่าปีก่อน |
เมืองเชียงแสนปัจจุบัน เป็นศูนย์กลางการค้าผ่านแม่น้ำโขงระหว่างจีนกับประเทศไทย |
ประวัติระบุว่า ใน พ.ศ.2130 ชาวเชียงแสน 27 ครอบครัว นำโดยแสนหาญสุรินทร์
ได้อพยพจากเชียงแสน มาบุกเบิกตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณที่เป็นเมืองหลวงน้ำทาปัจจุบัน
และตั้งชื่อเมืองที่ไปตั้งรกรากใหม่ว่าเมืองหลวงหัวทา
ประวัติไม่ได้ระบุเหตุผลการอพยพ
แต่หากพิจารณาจากสถานการณ์ในขณะนั้น พ.ศ.2130 เป็นช่วงที่อยุธยาทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง
หลังจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อ พ.ศ.2127
เชียงแสนถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสต์ของพม่า
เพราะหลังจากพระเจ้าบุเรงนองได้เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นใน พ.ศ.2101 ได้สั่งหัวเมืองต่างๆที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง อาทิ เมืองยอง เชียงแขง เชียงลาบ บ้านยู้ รวมถึงเมืองอูในล้านช้างตอนบน ให้ขึ้นกับเมืองเชียงแสน
เพราะหลังจากพระเจ้าบุเรงนองได้เชียงใหม่เป็นเมืองขึ้นใน พ.ศ.2101 ได้สั่งหัวเมืองต่างๆที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง อาทิ เมืองยอง เชียงแขง เชียงลาบ บ้านยู้ รวมถึงเมืองอูในล้านช้างตอนบน ให้ขึ้นกับเมืองเชียงแสน
สมเด็จพระนเรศวรฯ ส่งทัพมายึดเชียงแสนได้ใน พ.ศ.2136
จากนั้น เป็นเวลากว่า 200 ปี เชียงแสนต้องตกเป็นเมืองขึ้นระหว่างพม่ากับอยุธยาสลับกันไป-มาตลอด จนถึง
พ.ศ.2347 สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทัพสยามจึงสามารถขับไล่พม่าให้พ้นไปจากเชียงแสนได้โดยเด็ดขาด
หลังจากชาวเชียงแสน 27 ครอบครัว อพยพมาสร้างเมืองหลวงหัวทาได้เกือบ
40 ปี ใน
พ.ศ.2169 เจ้าศรีสุทโทธนะธรรมิกราช
เจ้าผู้ครองเมืองเชียงแสน ได้นำไพร่พลจากเชียงแสนมายังเมืองหลวงหัวทา และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมือง
พ.ศ.2170 เจ้าศรีสุทโทธนะฯเดินทางไปเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา เพื่อสร้างสัมพันธไมตรี
เจ้าฟ้าเชียงรุ่งได้ยกธิดานามว่าเจ้านางเขมมาให้เป็นชายา
เจ้าศรีสุทโทธนะฯพำนักอยู่ที่เมืองเชียงรุ่งระยะหนึ่ง
และมีโอรสกับเจ้านางเขมมา 1
คน ชื่อว่าเจ้าหม่อมหลวง
พ.ศ.2171 เจ้าศรีสุทโทธนะฯนำพุทธศาสนิกชนในเมืองหลวงหัวทาร่วมกันสร้างพระธาตุขึ้น
2 องค์
คือพระธาตุปุมปุกกับพระธาตุภูปราสาท เพื่อให้เป็นศูนย์รวมจิตใจและความสามัคคีของชาวเมือง
ปัจจุบัน พระธาตุภูปราสาทได้ผุพังไปแล้ว
ส่วนพระธาตุปุมปุกนั้น เคยพังทลายลงครั้งหนึ่งจนเหลือเพียงเศษอิฐ และมีต้นไม้ปกคลุมเต็มไปหมด ชาวเมืองได้ร่วมกันสร้างพระธาตุปุมปุกองค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิม แต่พระธาตุปุมปุกองค์ที่ 2 ก็มีอันต้องพังทลายลงอีก เพราะถูกระเบิดของสหรัฐอเมริกาที่ทิ้งลงมาแบบปูพรมในเมืองหลวงน้ำทา ในช่วงสงครามเวียดนาม
ใน พ.ศ.2545 ชาวเมืองหลวงน้ำทาได้ร่วมแรงศรัทธาสร้างพระธาตุปุมปุกองค์ที่ 3 ขึ้นเคียงข้างซากส่วนที่เหลืออยู่ของพระธาตุองค์เดิม เพื่อให้คนที่ขึ้นไปกราบไหว้ ได้เห็นเป็นอุทธาหรณ์ของพิษภัยจากสงคราม
ส่วนพระธาตุปุมปุกนั้น เคยพังทลายลงครั้งหนึ่งจนเหลือเพียงเศษอิฐ และมีต้นไม้ปกคลุมเต็มไปหมด ชาวเมืองได้ร่วมกันสร้างพระธาตุปุมปุกองค์ใหม่ครอบพระธาตุองค์เดิม แต่พระธาตุปุมปุกองค์ที่ 2 ก็มีอันต้องพังทลายลงอีก เพราะถูกระเบิดของสหรัฐอเมริกาที่ทิ้งลงมาแบบปูพรมในเมืองหลวงน้ำทา ในช่วงสงครามเวียดนาม
ใน พ.ศ.2545 ชาวเมืองหลวงน้ำทาได้ร่วมแรงศรัทธาสร้างพระธาตุปุมปุกองค์ที่ 3 ขึ้นเคียงข้างซากส่วนที่เหลืออยู่ของพระธาตุองค์เดิม เพื่อให้คนที่ขึ้นไปกราบไหว้ ได้เห็นเป็นอุทธาหรณ์ของพิษภัยจากสงคราม
พระธาตุปุมปุกองค์ปัจจุบัน(ซ้าย) กับซากพระธาตุองค์เดิม(ขวา) |
เจ้าศรีสุทโธธนะฯปกครองเมืองหลวงหัวทาตั้งแต่ พ.ศ.2169 จนถึง พ.ศ.2180 ก็ถึงแก่อสัญกรรม
นอกจากเจ้าหม่อมหลวง ซึ่งเป็นโอรสที่เกิดกับเจ้านางเขมมาบุตรสาวเจ้าฟ้าเมืองเชียงรุ่งแล้ว
เจ้าศรีสุทโทธนะฯ ยังมีโอรสและธิดา อีก 7 คน คือ เจ้าช้างเผือก เจ้าฮักเมือง เจ้าคำภู
เจ้าคำฟอง เจ้าคำหล้า เจ้านางขันคำ และเจ้านางสุธรรมา
เมื่อสิ้นเจ้าศรีสุทโทธนะฯ เสนาอำมาตย์ ราษฎร
ได้ยกให้เจ้าช้างเผือกขึ้นเป็นเจ้าครองเมืองหลวงหัวทา จากนั้นน้องๆของเจ้าช้างเผือก
ได้ขึ้นปกครองเมืองหลวงหัวทาต่อเนื่องมาเป็นลำดับ
จนถึง พ.ศ.2245 เมื่อโอรสทั้ง 5 สิ้นชีวิตลงหมดแล้ว
เจ้านางขันคำและเจ้านางสุธรรมา ได้ร่วมกันปกครองเมืองหลวงหัวทาต่อจนถึง พ.ศ.2257
ใน พ.ศ.2257 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงหัวทา
บ้านเรือนของราษฎรทั้งเมืองได้จมอยู่ใต้น้ำ
เจ้านางทั้งสองได้สั่งให้ราษฎรเก็บข้าวของ และให้คนแก่และเด็กไปอยู่ในที่ปลอดภัย
ระหว่างที่เจ้านางทั้งสอง พาเสนาอำมาตย์จำนวนหนึ่งเสด็จออกจากวังสามหมื่นด้วยเรือพระที่นั่ง
เพื่อตรวจเยี่ยมราษฎรท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวกราก ลมแรง เรือพระที่นั่งได้จมลง เจ้านางทั้งสองเสียชีวิต
เสนาอำมาตย์
ราษฎรได้นำพระศพของเจ้านางขันคำและเจ้านางสุธรรมา มาทำพิธีส่งสการอย่างสมเกียรติ
และเพื่อให้เป็นเกียรติแก่เจ้านางทั้งสอง ชาวเมืองได้อัญเชิญดวงวิญญานของเจ้านางทั้งสอง
ขึ้นเป็นมเหศักดิ์หลักเมืองหลวงหัวทาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภาพวาดเจ้านางขันคำกับเจ้านางสุธรรมา |
การถึงแก่อสัญกรรมอย่างกระทันหันของเจ้านางขันคำและเจ้านางสุธรรมา
ทำให้มืองหลวงหัวทาขาดผู้นำ ไม่มีที่พึ่งทางจิตใจ
เสนาอำมาตย์จึงได้เดินทางไปอัญเชิญเจ้าหม่อมหลวง
โอรสของเจ้าศรีสุทโทธนะฯกับเจ้านางเขมมา จากเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา มาปกครองเมืองหลวงหัวทา
พ.ศ.2276 เจ้าหม่อมน้อย หลานของเจ้าหม่อมหลวง ได้นำกำลังจากเชียงรุ่ง
มาหวังรบชิงเมืองหลวงหัวทาจากผู้เป็นอา
กำลังของเจ้าหม่อมหลวงมีน้อย ประกอบกับชราภาพแล้ว จึงปรึกษากันกับเสนาอำมาตย์
ราษฎร โดยเห็นว่าเพื่อไม่ให้เดือดร้อน และรักษากำลังไว้ จึงให้ทุกคนอพยพจากเมืองหลวงหัวทาลงมาพึ่งเมืองน่าน
ราษฎรจากเมืองหลวงหัวทาได้พำนักอยู่ที่เมืองน่านเป็นเวลา 3 ปี ใน พ.ศ.2279 เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้อนุญาตให้ราษฎรเหล่านี้ย้ายออกไปสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออก
ชื่อว่าเมืองเงินกุฏสาวดี(เมืองเงิน แขวงไชยะบูลี ปัจจุบัน) โดยให้ขึ้นกับเมืองน่าน
ส่วนดินแดนเมืองหลวงหัวทา ซึ่งเคยเป็นแหล่งทำมาหากินอันอุดมสมบูรณ์ของชาวลาวยวนนั้น
กลายเป็นเมืองร้าง ต้นไม้ขึ้นรกเป็นป่าทึบ มีชนเผ่าอื่นย้ายจากเมืองเชียงตุง และเชียงรุ่ง
เข้ามาอาศัย เช่นชนเผ่าเย้า แลนแตน อีก้อ สีดา
การปกครองเมืองเงินกุฏสาวดี ตั้งแต่ พ.ศ.2279 ถึง พ.ศ.2426 มีเจ้าเมือง
8 คน คือ เจ้าหม่อมหลวง เจ้าหม่อมกอง เจ้าหม่อมอาชญามหาวงศ์
เจ้าหม่อมอาชญามหานาม เจ้าหม่อมอาชญาน้อย เจ้าหม่อมเทพ เจ้าหม่อมเตช เจ้าหม่อมลานชา
ชาวยวนเมืองหลวงน้ำทาในปัจจุบัน |
พ.ศ.2427 เจ้าสายพรหมินทร์ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเงินกุฏสาวดี แต่ระหว่างที่เดินทางไปยังเมืองน่าน
เพื่อขอรับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าสายพรหมินทร์ได้ถึงแก่อสัญกรรมแบบกระทันหัน
บรรดาเสนาอำมาตย์ และราษฎรเมืองเงินกุฏสาวดีได้พากันไปเรียนเชิญเจ้าหม่อมสิทธิสาร
จากเมืองน่าน ให้มาปกครองเมืองเงินกุฏสาวดีจนถึง พ.ศ.2434
เจ้าหม่อมสิทธิสาร
ก็คือเจ้าอุปราชสิทธิสาร ณ น่าน ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 12 กับแม่เจ้าจันทา และยังเป็นพระอนุชาร่วมมารดาของเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 13 หรือองค์ก่อนสุดท้าย
พ.ศ.2434
เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังรุกเข้ามาหวังยึดดินแดนล้านช้างเป็นอาณานิคม
ดังนั้นเพื่อจัดระเบียบหัวเมืองทางฝั่งตะวันออก
เจ้าผู้ครองนครน่านจึงได้ให้เจ้าอุปราชสิทธิสาร
นำไพร่พลจากเมืองเงินกุฏสาวดีที่สมัครใจ เดินทางขึ้นไปสร้างเมืองหลวงหัวทาขึ้นใหม่
มีไพร่พลร่วมเดินทางมากับเจ้าอุปราชสิทธิสารจำนวน 566 คน
ระหว่างเดินทางจากเมืองน่านมายังเมืองหลวงหัวทา เมื่อผ่านเมืองเชียงของ เจ้าอุปราชสิทธิสารก็ได้ชักชวนชาวลื้อที่อาศัยอยู่ในเชียงของกลุ่มหนึ่ง
ให้ร่วมเดินทางมาด้วย
คณะของเจ้าอุปราชสิทธิสาร เดินทางมาถึงเมืองหลวงหัวทาใน
พ.ศ.2435 และช่วยกันแผ้วถางเมืองหลวงหัวทาซึ่งร้างไปถึง
158 ปี เพื่อสร้างเมืองขึ้นมาใหม่
แต่ในปีถัดไป คือ พ.ศ.2436 ได้เกิดเหตุการณ์ รศ.112 ในกรุงสยาม ผลของเหตุการณ์นี้ ทำให้สยามต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส
ซึ่งรวมถึงเมืองหลวงหัวทาด้วย
ส่วนเมืองเงินกุฏสาวดีนั้น ได้ตกเป็นของฝรั่งเศสในอีก 10 ปีต่อมา
สมัยก่อนที่ยังไม่มีการละเล่น หรือสันทนาการมากเหมือน
ในปัจจุบัน
เมื่อหนุ่มชาวลาวยวน ต้องการไปเกี้ยวพาราสี
สาว มักไปในเวลาที่สาวเจ้ากำลังทอผ้า โดยฝ่ายชายมีปี่
เป็นเครื่องมือ นั่งเป่าปีดูสาวทอผ้า เพื่อเรียกความเห็นอกเห็นใจ
ฟ้อนลาวยวน
ดนตรีพื้นบ้านลาวยวน
จนถึงทุกวันนี้ ชาวลาวยวนทั้งในเมืองหลวงน้ำทาและเมืองเงิน
ยังมีการติดต่อไปมาหาสู่กันตลอด เพราะถือว่าเป็นญาติพี่น้อง ที่มาจากบรรพบุรุษเดียวกัน
ปี 2009(พ.ศ.2552) ชาวลาวยวนในเมืองหลวงน้ำทา
ได้จัดงานเพื่อแสดงอัตลักษณ์ความเป็น“ยวน”ของตนขึ้นมาเป็นครั้งแรก
โดยมีชาวยวนในเมืองเงินมาร่วมงานด้วย
เมื่อต้นปีนี้ ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม พ.ศ.2557 ชาวลาวยวนในเมืองหลวงน้ำทาก็ได้จัดงานเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตนเองขึ้นเป็นครั้งที่
2 ใช้ชื่อว่า”งานบุญวัฒนธรรมเผ่าลาวยวน” มีผู้เดินทางมาร่วมงานด้วยเป็นจำนวนมาก
งานบุญวัฒนธรรมชนเผ่าลาวยวน |
ขบวนแห่ของชาวลาวยวน ในงานบุญวัฒนธรรม |
คณะผู้จัดงานได้ตกลงร่วมกันว่า ต่อจากนี้ ชาวลาวยวนจะจัดงานเพื่อแสดงอัตลักษณ์ของตนขึ้นทุก 5 ปี
เรื่องของชาว”ลาวยวน”นับจากนี้ จึงน่าจะเป็นที่รับรู้กันมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะในประเทศไทย
เพราะแท้จริงแล้ว”ลาวยวน”ก็คือคนที่มีบรรพบุรุษเดียวกันกับชาว”ไทยวน”
เพียงแต่การโยกย้ายถิ่นฐานเกิดขึ้นคนละช่วงเวลาเท่านั้น
ในประเทศไทย คนไทยวนเคลื่อนย้ายจากเชียงแสน กระจายไปอยู่ตามเมืองต่างๆ
หลังจากถูกเทครัวลงมาในสมัยรัชกาลที่ 1
ทำไมต้องเทครัวชาวยวนเหล่านี้ ?
เหตุผลเพราะว่า หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องการกู้อิสรภาพ ได้ทรงยกทัพขึ้นไปรบเพื่อขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นฐานกำลังหลักของพม่าสำหรับยกลงมาตีกรุงศรีอยุธยา
เหตุผลเพราะว่า หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องการกู้อิสรภาพ ได้ทรงยกทัพขึ้นไปรบเพื่อขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นฐานกำลังหลักของพม่าสำหรับยกลงมาตีกรุงศรีอยุธยา
ข้าวของเครื่องใช้ที่แสดงถึงวิถีชีวิตชาวลาวยวน |
ในสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ครั้งแรก ใน พ.ศ.2317 ทัพของพระเจ้าตากสิน
ร่วมกับทัพของพระเจ้ากาวิละจากลำปาง สามารถไล่พม่าออกจากเชียงใหม่ได้
ทัพพม่าที่หนีจากเชียงใหม่ ได้ไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่เชียงแสน และใช้เชียงแสนเป็นแหล่งสะสมเสบียงและกำลังพล
จนเมื่อพระเจ้าตากสินได้ทรงประกาศอิสรภาพ
และสร้างกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่แล้ว
ทัพพม่าก็ยังคงยึดครองเมืองเชียงแสนเพื่อใช้เป็นแหล่งซ่องสุมผู้คนและเสบียงอยู่
เชียงแสนจึงเป็นเสมือนหอกข้างแคร่ของสยาม
เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อต้องการขับไล่พม่าออกไปจากดินแดนสยามโดยเด็ดขาด จึงได้โปรดเกล้าให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ และพระยายมราช
ยกกองทัพจากกรุงเทพฯ ไปร่วมกับทัพจากหัวเมืองอีก 4 แห่ง คือ น่าน
ลำปาง เชียงใหม่ เวียงจัน ทำสงครามขับไล่พม่าออกจากเชียงแสน
เมื่อ พ.ศ.2347
การแสดงงานงานบุญวัฒนธรรมชนเผ่าลาวยวน |
และเพื่อไม่ให้ทัพพม่าสามารถย้อนกลับมาใช้เชียงแสนเป็นแหล่งซ่องสุมผู้คนได้อีก
ทั้ง 5 ทัพ จึงได้ทำลายกำแพงเมือง และเผาเมืองทิ้ง
จากนั้น
จึงได้อพยพครัวชาวเชียงแสน ที่มีอยู่จำนวน 2 หมื่นกว่าคน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ตามกองทัพทั้ง 5
แล้วพากันแยกย้ายเดินทางไปอยู่ยังกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน และเวียงจัน
ครัวยวนที่มาพร้อมกับทัพหลวง
เมื่อมาถึงกรุงเทพฯ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าให้ไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองราชบุรี
ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ห่างจากตัวเมืองไปทิศตะวันออก ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าบ้านร่นที
แต่ระหว่างเดินทางลงมากรุงเทพฯ เมื่อผ่านเมืองสระบุรี
มีส่วนหนึ่งของครัวยวนกลุ่มนี้
ได้ขอแยกตัวเพื่อตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ซึ่งปัจจุบันคือ อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
ต่อมาครัวเมื่อยวนที่เสาไห้มีประชากรเพิ่มขึ้น ก็ขยายออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่สีคิ้ว
ส่วนครัวยวนที่ไปอยู่ในเวียงจัน หลังจากเสร็จศึกเจ้าอนุวง
ในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีการกวาดต้อนชาวเวียงจันเป็นเชลย
ในจำนวนนี้ มีครัวยวนที่ถูกเทไปในสมัยรัชกาลที่ 1 รวมอยู่ด้วย เมื่อครัวยวนกลุ่มนี้เดินทางลงมาถึงสีคิ้ว
ได้ขอแยกออกมาร่วมอาศัยอยู่กับคนยวนสีคิ้วด้วย
การประกาศอิสรภาพหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้ง
เป็นมูลเหตุสำคัญ ที่ทำให้คน”ยวน”จากเชียงแสน ต้องกระจายตัวไปอยู่ตามที่ต่างๆของดินแดนสุวรรณภูมิ...
อนิจัง ทุกขัง อนัตตา (ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตน) อดีต ปล่อยวาง อยู่กับปัจจุบันเพราะไม่รู้จักพอแท้แท้
ตอบลบ