จากหลวงพระบาง ผมไม่ได้ใช้เส้นทางเดิมเพื่อกลับเข้าสู่ประเทศไทย
แต่เปลี่ยนมาใช้เส้นทางหมายเลข 4 ซึ่งวิ่งจากหลวงพระบางลงมาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนมาถึงเมืองไชยะบุรี
ซึ่งเป็นเมืองหลักของแขวงไชยะบุรี
เส้นทางหมายเลข 4 จากหลวงพระบางมาไชยะบุรี |
ตามเส้นทางหมายเลข
4 จากหลวงพระบาง ต้องผ่านเมืองน่าน(ชื่อเมืองหนึ่งในแขวงหลวงพระบาง) และมาบรรจบกับแม่น้ำโขงที่เมืองปากขอน
ซึ่งยังอยู่ในแขวงหลวงพระบาง
ที่จุดนี้ต้องข้ามเรือบั๊กเพื่อมายังเมืองท่าเดื่อของแขวงไชยะบุรี ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองไชยะบุรีไปเพียงไม่ถึง 20 กิโลเมตร
จากหลวงพระบาง มายังเมืองไชยะบุรี ใช้ระยะทางรวม 120 กิโลเมตร
แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างหลวงพระบาง และไชยะบุรี |
นำรถข้ามเรือบั๊กจากเมืองปากขอนมาขึ้นฝั่งที่เมืองท่าเดื่อ |
เส้นทางหมายเลข 4 ถือเป็นเส้นทางที่สำคัญและมีบทบาทต่อประเทศไทยพอสมควร
เพราะเป็นถนนที่เรียกว่าคู่ขนานกับชายแดนด้านตะวันออกของภาคเหนือของประเทศไทย
จากเมืองไชยะบุรี หากวิ่งตามเส้นทางนี้เรื่อยๆมาทางทิศใต้
จะผ่านเมืองเพียง ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ถัดลงมาก็เป็นเมืองปา ที่อยู่ตรงข้ามกับอำเภอแม่จริม
จังหวัดน่านอีกเช่นกัน
ต่อจากเมืองปาเป็นเมืองปากลาย ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอบ้านโคก
จังหวัดอุตรดิตถ์
ถนนสายนี้ มาสิ้นสุดที่เมืองแก่นท้าว
ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
จากไชยะบุรี มาจนถึงเมืองแก่นท้าว ระยะทางรวม 230 กิโลเมตร
ดังนั้น หากอยากไปเที่ยวหลวงพระบางทางรถยนต์ โดยเข้าลาวทางด่านท่าลี่
จังหวัดเลย สามารถเดินทางขึ้นไปตามเส้นทางหมายเลข 4 ระยะทางยาว 350 กิโลเมตร
เมื่อต้นปี 2553 ที่ผมใช้ถนนสายนี้จากหลวงพระบางเพื่อกลับประเทศไทย เส้นทางหมายเลข 4 อยู่ระหว่างการปรับปรุง
โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเซีย(ADB) เป็นวงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท
ผมออกเดินทางจากหลวงพระบางช่วงสายๆ ด้วยสภาพถนนที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง ทำให้มาถึงเมืองไชยะบุรีทันกินข้าวมื้อเที่ยงในช่วงบ่าย
จากเมืองไชยะบุรี ผมเปลี่ยนมาใช้เส้นทางหมายเลข 44(ไชยะบุรี-หงสา) โดยวกทิศทางกลับขึ้นไปทางเหนือ ถนนสาย 44 นี้มีระยะทางรวมประมาณ 100 กิโลเมตรก็จะถึงเมืองหงสา
เมืองหงสาอยู่ห่างจากเมืองเงิน 35 กิโลเมตร หลังจากนั้นจึงผ่านด่านห้วยโก๋น เพื่อกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง
เมืองหงสาอยู่ห่างจากเมืองเงิน 35 กิโลเมตร หลังจากนั้นจึงผ่านด่านห้วยโก๋น เพื่อกลับเข้าสู่ประเทศไทยอีกครั้ง
จากเมืองไชยะบุรีวิ่งขึ้นมาตามเส้นทางหมายเลข 44 ประมาณ 80 กว่ากิโลเมตรจะเจอสามแยกที่บ้านนาปุ่ง |
ถ้าเลี้ยวซ้ายที่สามแยกนี้ไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก็จะเข้าสู่เมืองหงสา |
เมืองหงสาในวันที่ผมได้ผ่านเป็นครั้งแรกนั้น
เป็นเมืองที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะจะถูกใช้เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าและเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่
กำลังการผลิตสูงถึง 1,878
เมกะวัตต์
การเปิดหน้าเหมือง และก่อสร้างโรงไฟฟ้า
ซึ่งต้องใช้พื้นที่ถึง 76
ตารางกิโลเมตร ทำให้ต้องมีการโยกย้ายประชากรถึงประมาณ 2,000 คนจาก 450 ครัวเรือน
ใน 4 หมู่บ้านออกจากพื้นที่ซึ่งเคยอาศัยอยู่เดิม
สภาพเมืองที่เงียบสงบ กำลังต้องพบกับความพลุกพล่านอย่างที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน
หงสาเป็นอดีตเมืองหลักของแขวงไชยะบุรี
ก่อนที่จะย้ายลงไปอยู่ที่เมืองไชยะบุรีในปัจจุบัน
ประชากรหงสา ประกอบด้วยชาวลาวเทิง ซึ่งเป็นชนเผ่าขมุ
และชาวไทลื้อ รวมถึงชาวลาวลุ่มอีกส่วนหนึ่ง อาชีพส่วนใหญ่คือเกษตรกรรม
สำหรับชาวไทลื้อในเมืองหงสา เป็นไทลื้อที่มีต้นกำเนิดมาจากเมืองเชียงรุ่ง สิบสองปันนา คนกลุ่มนี้ถูกเทครัวลงมาตั้งแต่ครั้งที่สยาม โดยกองทัพล้านนา อันประกอบด้วยทัพเมืองเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และกองทัพหลวงพระบาง ได้แผ่อิทธิพลขึ้นไปถึงเมืองเชียงรุ่ง ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 หรือเมื่อ 200 กว่าปีก่อน
ดังนั้นชาวไทลื้อ ทั้งที่อยู่ในหลวงพระบาง หงสา จังหวัดน่าน และเชียงราย จึงถือได้ว่าเป็นพี่เป็นน้องกัน
เช่นเดียวกับที่หมู่บ้านผานมของหลวงพระบาง เมืองหงสาก็ถือเป็นแหล่งผลิตผ้าป้อนให้กับจังหวัดน่าน ผ้าทอลายน้ำไหลซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดน่าน ส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตของชาวไทลื้อในหงสานี่เอง
ดังนั้นชาวไทลื้อ ทั้งที่อยู่ในหลวงพระบาง หงสา จังหวัดน่าน และเชียงราย จึงถือได้ว่าเป็นพี่เป็นน้องกัน
เช่นเดียวกับที่หมู่บ้านผานมของหลวงพระบาง เมืองหงสาก็ถือเป็นแหล่งผลิตผ้าป้อนให้กับจังหวัดน่าน ผ้าทอลายน้ำไหลซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของจังหวัดน่าน ส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตของชาวไทลื้อในหงสานี่เอง
โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
และเหมืองถ่านหินที่หงสาเริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ผมได้เดินทางผ่านเมืองนี้พอดี
แต่ขณะนั้นยังไม่พบกับการเปลี่ยนแปลงอะไรที่เป็นนัยสำคัญ
ตามกำหนดการ ทั้งโรงไฟฟ้า
และเหมืองจะสร้างเสร็จและเปิดเดินเครื่องได้ในปี 2558 หรือใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี
ส่วนการโยกย้ายประชาชน จะเริ่มต้นประมาณกลางปี 2553
ด้วยความที่ผมจำเป็นต้องรีบเดินทางไปให้ทันก่อนด่านห้วยโก๋นจะปิดในเวลา
16.00 น.
เมื่อครั้งที่ผ่านเมืองหงสาครั้งแรกนั้น ทำให้ไม่มีเวลาที่จะหยุดแวะพักเพื่อถ่ายภาพเก็บบรรยากาศภายในเมืองเอาไว้ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงในเมืองนี้จะมาถึง
เมื่อครั้งที่ผ่านเมืองหงสาครั้งแรกนั้น ทำให้ไม่มีเวลาที่จะหยุดแวะพักเพื่อถ่ายภาพเก็บบรรยากาศภายในเมืองเอาไว้ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงในเมืองนี้จะมาถึง
หลังจากที่ผมผ่านด่านห้วยโก๋น และกลับเข้ามายังประเทศไทยได้
ผมตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าภายในอีกไม่กี่เดือน ก่อนการโยกย้ายชาวบ้าน
ผมต้องกลับไปยังเมืองหงสาอีกครั้ง
อีกไม่กี่เดือนต่อมา ประมาณกลางปี 2553 ผมก็ได้เดินทางกลับมายังหงสาจริงๆ
หงสาซึ่งเขียวชอุ่มเมื่อกลับไปอีกครั้ง ตัวเมืองจะอยู่ถัดจากแปลงนาผืนนี้ |
อีกด้านหนึ่งเมื่อมองจากเนินเขาลูกเดียวกัน คือพื้นที่สำหรับใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้า และเหมืองถ่านหิน ถนนที่เห็นคือทางเข้าโครงการ |
สภาพของเมืองไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากครั้งแรกที่ผมรีบเดินทางผ่าน
เพียงแต่ความชุ่มชื้นของฤดูฝน ทำให้เมืองนี้ดูสงบ และน่าอยู่ยิ่งขึ้นไปอีก
ผมได้มาทันเก็บบรรยากาศของเมืองก่อนการเปลี่ยนแปลงพอดี !!!
ชาวเมืองหงสายังประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ทำนา ปลูกผัก เก็บเห็ด เลี้ยงหมู เลี้ยงปลาฯลฯ
พื้นที่ทำมาหากินของชาวหงสา |
ในหมู่บ้านที่เป็นชาวไทลื้อ
ก็ยังมีการทอผ้า และการแซว(ปักลาย)บนผืนผ้า เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้าตามปกติ
ร้านอาหารเริ่มมีมากขึ้น
เพราะเริ่มมีเจ้าหน้าที่
และวิศวกรของบริษัทที่ได้รับสัมปทานสร้างโรงไฟฟ้าเข้าไปพักอาศัยอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง
ยามค่ำคืนในเมืองหงสายังเงียบสงบ
แต่เริ่มมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางแบบ backpack เข้าไปแล้วจำนวนหนึ่ง
ตลาดเช้าเมืองหงสา |
ชาวบ้านนำพืชผลการเกษตรมาวางขายจนถึงเวลาสายๆ ก็เลิก |
ผมเข้ามาหงสารอบนี้ มีเวลาอยู่ในเมืองเพียงแค่คืนเดียว
วันรุ่งขึ้นก็ต้องรีบออกจากเมือง เพื่อกลับเข้าประเทศไทย เพราะมีโปรแกรมต้องเดินทางต่อไปยังที่อื่น
เนื่องจากฝนที่ตกแทบจะตลอดทั้งวัน
ทำให้โอกาสในการบันทึกภาพมีอยู่น้อยมาก
หลังจากออกจากหงสาครั้งที่ 2 เมื่อกลางปี 2553 ผมยังมีความตั้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าต้องกลับมาที่นี่อีกครั้งให้ได้
ผมวางแผนได้ว่าหลังจากผ่านพ้นฤดูฝนของปีนี้
ผมจะต้องเดินทางไปยังเมืองหงสาอีกเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและเหมืองได้เดินหน้าไปแล้วครึ่งทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น